วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 1:นิยามศัพท์เฉพาะ

นิยามศัพท์เฉพาะ
                1. พระพิมพ์ หมายถึง พระพุทธรูปขนาดเล็กที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการกดประทับด้วยแม่พิมพ์ หรือ ถ้าเป็นเนื้อโลหะจะใช้การเทละลายเทหล่อเข้าแม่พิมพ์
2. วัตถุมงคลในพุทธศาสนา หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระเครื่องราง หรือ พระเครื่อง คือรูปสมมติของพระพุทธเจ้ามีขนาดเล็ก สร้างไว้สำหรับบรรจุไว้ในพุทธเจดีย์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และเพื่อสืบทอดพระศาสนา
3. พระปลอม หมายถึง พระที่มีถอดพิมพ์จากพระเดิมและทำให้มีสภาพเหมือนจริง เป็นพระที่ไม่ได้รับการปลุกเสก แล้วออกมาจำหน่ายแก่ผู้ต้องการเช่าบูชาพระเครื่อง ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อผง พระเหรียญ พระเนื้อดิน
4. ศูนย์พระเครื่อง หมายถึง สถานที่ใดก็ตามที่มีแผงพระมาตั้งเพื่อให้เช่า (ซื้อ ขายพระเครื่อง) แลกเปลี่ยน บริการตรวจสอบพระแท้หรือปลอม จำหน่ายอุปกรณ์ปลีกย่อยอื่น ๆ เป็นกล่องใส่พระ ตลับพระ สายสร้อย ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ประจำ เปิดบริการวันจันทร์ วันอาทิตย์ หรือจัดให้มีขึ้นเฉพาะวันที่กำหนดเท่านั้น เช่น ศูนย์พระเครื่องตลาดนัดจตุจักรเปิดบริการเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์ อยู่โครงการ 1 มีจำนวน 130 ร้านค้า
5.พุทธคุณ หมายถึง คุณของพระพุทธเจ้าอย่างย่อที่สุดมี 3 ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณที่ได้นำมาบรรจุไว้ในพระเครื่องเพื่อให้มีอำนาจปกป้องและคุ้มครองผู้ที่บูชาพระเครื่องที่เกิดจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์นั้น
6.เหรียญคณาจารย์ หมายถึงโลหะที่มีลักษณะกลมแบนหรือรูปเหลี่ยมเป็นต้น มีภาพนูนหรือตัวอักษรอยู่บนพื้นโดยทำป็นรูปของพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้ที่ศัทธาจัดทำขึ้นมาเพื่อมอบให้แก่บุคลทั่วไป
7.พระกรื่ง คือ พระเครื่องที่ทำด้วยโลหะ ข้างในกลวง มีก้อนโลหะคลอน เขย่าดังกริ่งๆ
8.คุณภาพของพระเครื่อง หมายถึง พระเครื่องที่เซียนพระกล้ารับประกันความแท้ ถ้าไม่พอใจเช่าไปแล้ววันหลังเอาพระมาคืนแล้วก็เอาเงินกับคืนแก่ลูกค้าที่เช่าบูชาพระเครื่อง
9.พระเนื้อผง หมายถึง พระที่อาจอาจจะมีส่วนผสมของดอกไม้บ้าง หรือผงวิเศษของคน(พระ)ที่ผลิตขึ้นมาบ้าง เนื้อผงส่วนใหญ่จะมีเนื้อสีขาวหรือสีนวลเหมือนชอล์ค
10.เนื้อดิน หมายถึง พระที่มีดินเหนียว หรือดินนาเป็นส่วนผสม สีขององค์พระจะเป็นสีดินเผาเพราะเนื่องจากโดนนำไปเผา
11.พระกรุโบราณ หมายถึง เป็นพระเครื่องโบราณอายุประมาณ๑๐๐๐ กว่าปีขึ้นไป
12.พระปิดตา หมายถึง ลักษณะขององค์พระท่านเป็นการยกพระหัตถ์ ปิดพระพักตร์ มิใช่ยกพระหัตถ์ปิดพระเนตร(ตา) แต่ปิดรวม ตา หู จมูก ปาก และดวงหน้าซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของกาย ส่วนใจเป็นนามก็ปิดโดยสมมุติ นับเป็นอาการสำรวมอายตนะ ๖  ประการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น