วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

เซียนพระหลากหลายประเภท


หัวใจเซียนแท้ๆ

คนที่เป็นเซียนจริงๆ จะมีลักษณะพิเศษคือ เป็นคนอ่อนน้อมถ่มตน ไม่เสแสร้ง

ชั่วครั้งชั่วคราว ไม่โอ้อวด ไม่คุยโม้ พูดจามีหลักมีเกณฑ์ อธิบายเข้าใจง่ายมี

ความละเอียดในเรื่องที่รอบรู้ ไม่เพ้อเจ้อเป็นน้ำท่วมทุ่ง”ไร้สาระ”

เซียนใหญ่จะรู้ใจคนที่เอาของมาให้ดู

เซียนในสนามใหญ่ๆ เวลาดูพระจะมีสายตาคม ซึ่งในวงการพระเขาเรียก

ว่า”มองแล้วอ่านขาด” เขาจะมีปฏิภาณไหวพริบว่าคนไหนเอาพระมาหวังจะ

ให้ดูอย่างเดียว คนไหนหวังจะเอามาให้เช็ค(ดู) คนไหนจะเอามาปล่อย(ขาย)

ซึ่งคนเรามีหลายประเภท ประเภทที่เอามาโชว์อย่างเดียวหรือชอบโชว์นี้ถือว่า

เป็นพวกโรคจิตประเภทหนึ่ง เป็นแค่อยากให้คนอื่นพูดถึงตัวเองแล้วเกิดความ

ปลื้มใจ กลับบ้านกินข้าวอร่อย นอนหลับสบาย แต่บางทีคนประเภทนี้ก็น่า

หมั่นไส้ แต่บางทีก็น่าเห็นใจและอภัยให้ได้ ที่เห็นใจเพราะถือว่าเขาได้โชว์ได้

อวดแล้วมีความสุข ก็ถือว่าได้ช่วยอนุเคราะห์ไป เซียนใหญ่บางคน เขาไม่

สนใจคนประเภทนี้มากนัก ดูไปก็เสียลูกตา เสียเวลาทำมาหากินว่างั้นเถอะ

เซียนเจ้าเล่ห์

คนที่เป็นเซียนจริงๆนั้น จะมีมาดนิ่งทั้งกายและใจ สุขุม เยือกเย็น เห็นของ

แล้วจะนิ่งเข้าไว้ ไม่วอกแวกออกอาการ บางคนเห็นของที่นำมาให้ดูหลายชิ้น

ก็อาจจะหยิบดูองค์นั้นทีองค์นี้ที บางองค์ก็ดูนาน แต่องค์ที่หมายตากลับดูนิด

เดียว จับแค่ผ่านๆ ทำให้คนที่เอาพระมาปล่อยเดาใจไม่ถูกว่าองค์ไหนราคาสูง

องค์ไหนราคาต่ำ พอถึงตกลงราคาซื้อขายกัน ถ้าเป็นการขายแบบเหมา เจ้า

ของพระที่เอามาปล่อย ไม่รู้ว่าเซียนหมายตาองค์ไหนไว้ แกล้งพูดต่อรองราคา

องค์ที่ราคาต่ำ เจ้าของพระอาจแถมของดูราคาสูงให้เขาไปก็มี นี่คือเล่ห์กล

อย่างหนึ่ง ที่ต้องไม่มองข้าม

เซียนที่ไม่น่าคบ

เซียนอีกประเภทหนึ่ง คือพวกจับแล้ววาง ดูผ่านๆ ไม่ค่อยพูดแสดงความคิด

เห็น อาจจะเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์กับตัวเอง ได้แต่ดูเฉยๆ คนที่เป็นเจ้าของ

พระก็ใจตุ้มๆต่อมๆ ใจไม่ดี กลับบ้านแล้วไม่สบายใจ เซียนแบบนี้ไม่น่าคบเป็น

อย่างยิ่ง

เซียนคุมอาการไม่อยู่

เซียนบางคนเห็นของไม่ได้ ปากสั่น มือสั่น เกิดอาการ”อยากได้” เก็บอาการไม่

อยู่ เซียนประเภทนี้ให้จับของไม่ค่อยได้ ถ้าคิดจะซื้อขายด้วยไม่ดีแน่ แต่ถ้าให้

แสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อมูลแล้วให้ค่าวิชาอย่างนี้ดี

เซียนใฝ่ดี

เซียนอีกประเภทหนึ่งคือ”เซียนใฝ่ดี” เซียนประเภทนี้เมื่อเห็นใครแขวนพระเป็น

ไม่ได้ต้องขอดู ทำคล้ายจะเป็นจะตายให้ได้หากไม่ให้ดู แต่ก็เป็นคนมีกิริยา

นิ่มนวล สุภาพ ขออนุญาตดู อนุญาตส่อง ดูแล้วก็บอกความจริงที่รู้ตามข้อมูล

ที่มี คนที่อยากเป็นเซียนพระต้องทำแบบนี้ ต่อไปในอนาคตก็จะเป็นเซียนใหญ่

ได้.

พื้นฐานการรอบรู้เรื่องพระเครื่องที่ดี

ข้อแนะนำสำคัญ  3 ประการในเรื่องของพระเครื่องดังนี้

1.ดูพิมพ์พระ

ศิลปะพิมพ์ทรงของพระเครื่องแต่ละพิมพ์จะไม่เหมือนกัน ถ้าพิมพ์ทรงผิด

เพี้ยนเพียงแค่นิดเดียว ก็ถือว่าไม่ใช่ของแท้ เช่นพระกำแพงเพชร พระลำพูน

พระลพบุรี ล้วนมีศิลปะเฉพาะตัว ซึ่งบ่งบอกสภาพทางสังคมของบ้านเมืองใน

สมัยนั้นๆ

2. ดูเนื้อพระ

มวลสารที่นำมาสร้างองค์พระนั้น จะมีมากมายหลายอย่าง ชื่อที่พอจะจำได้

และคุ้นหูก็คือ ดิน ว่าน ชิน ผง โลหะต่างๆ เช่น กะไหล่เงิน กะไหล่ทอง รัก เป็น

ต้น เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องรู้ประวัติวิองค์พระเครื่องที่เราสนใจอยู่นั้นว่า

มีเนื้อพระทำจากมวลสารชนิดใดบ้าง หากผิดเนื้อก็ให้อนุมานไว้ก่อนว่านั้นคือ

“พระปลอม”

3.ความเก่าแก่ของพระ

ความเก่าแก่ของพระแต่ละเนื้อจะไม่เหมือนกัน เนื้อดิน เนื้อผง  เนื้อชิน เนื้อ

โลหะ จะมีความแตกต่างกัน ขอยกตัวอย่างเช่น พระเนื้อผง หากมีความเก่า

ตามธรรมชาติโดยไม่มีการตกแต่งหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อหวังจะทำเลียนแบบ

ของเก่า เนื้อองค์พระเมื่อส่องดูด้วยเลนส์ส่องพระก็จะเห็นรอยแตกเหมือนเส้น

ใยของใบไม้ ซึ่งแตกออกเป็นแขนงอย่างเป็นระเบียบ หากมีการตั้งใจให้แตก

โดยมีเจตนาที่ต้องการปลอมแปลง การแตกจะไม่เหมือนเส้นใยของใบไม้ ซึ่ง

กรรมวิธีทำทียมที่เขาทำกันก็คือ นำไปทำให้ได้รับความเย็นโดยการแช่ในตู้

เย็น  แล้วทำให้ได้รับความร้อนโดยทันที เช่น นำเข้าอบในเครื่องไมโครเวฟ

หรือเตาเผา เตาอบ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 1 :ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                พระเครื่องเป็นสื่อสัญลักษณ์ของชาวไทยพุทธที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นทั้งตัวแทนในการระลึกถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมคำสั่งสอนของท่านซึ่งพระเครื่องเป็นวัตถุมงคลขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้ สร้างจากวัตถุมงคลหลายประเภท เช่น เนื้อดิน เนื้อว่าน เนื้อผงวิเศษ โลหะผสมต่างๆตลอดจนวัตถุอาถรรพ์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาประกอบเป็นพระเครื่องโดยทำเป็นรูปพระพุทธเจ้า และพระเกจิอาจารย์ด้วยเทคนิคการผลิตหลายรูปแบบ เป็นต้น
                มูลเหตุที่พระเครื่องสืบทอดมาถึงปัจจุบันนี้ เกิดมาจากมูลเหตุที่สำคัญ 2 ประการ ประการแรก คือ ความศรัทธา ประการที่สอง คือ การสะสมโดยความศรัทธาก่อให้เกิดแรงจูงใจให้สร้างรูปประติมากรรมต่าง ๆ จนกลายมาเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุ ซึ่งปัจจุบันความศรัทธาเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1) ความเคารพนับถือยกย่องเชิดชู จึงต้องการสร้างวัตถุที่ทรงคุณค่ามาทำการสักการบูชาจนแสดงออกมาเป็นประติมากรรมต่าง ๆ  2) ความศรัทธาความเชื่อในกุศลผลบุญที่จะได้รับจากการสร้าง ได้ดำรงไว้และสืบทอดพระศาสนาในรูปการสร้างพระพุทธปฏิมาเก็บไว้ตามกรุต่าง ๆ ด้านการสะสม เจตนารมณ์ที่สำคัญของนักสะสมพระเครื่องแบ่งเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1.       สะสมไว้เป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึง พระธรรม
2.       สะสมไว้เพื่อเตือนให้ระลึกถึง พระเดช พระคุณ ของพระพุทธเจ้าทางฝ่ายมหายาน
3.       สะสมไว้เพื่อการศึกษาทางโบราณคดีและสกุลศิลปะ
4.       สะสมไว้เชิงพุทธศิลป์
5.       สะสมไว้เพื่อการธุรกิจ
6.       สะสมไว้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง (แฟชั่น)
นอกจากนี้พระเครื่องสร้างขึ้นในฐานะรูปเคารพบูชาหรือภาพเล่าเรื่อง เพื่อแสดงพุทธประวัติ ซึ่งการสร้างพระเครื่องหรือพระพิมพ์นั้นจะสร้างได้คราวละมาก ๆ และคติความเชื่ออย่างใหม่ คือ บูชาพระเครื่องหรือพระพิมพ์ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเป็นเครื่องรางของขลัง ทำให้มีการสะสมกันขึ้นเป็นจำนวนมาก (พระเครื่อง : การสื่อสาร กับการบริโภคเชิงสัญญะ,2550,หน้า 2-3)
พระเครื่องที่มีการเช่าบูชากันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีอยู่หลายระดับเช่นกันเป็นต้นว่า ปั๊ม หล่อ ฉีด หรือการกดพิมพ์โดยเทคนิคแบบหลังเป็นวิธีการสร้างพระเครื่องแบบโบราณ จึงเป็นชื่อที่นำมาเรียกพระเครื่องสมัยก่อนว่าพระพิมพ์ ในแง่มุมของทางวิชาการที่คิดตามประวัติศาสตร์มักนิยมเรียกกันว่า พระพิมพ์แต่แวดวงพระเครื่องที่นิยมซื้อขายหรือสะสมนิยมเรียกว่า พระเครื่อง หรือ วัตถุมงคล แต่ก่อนเราเชื่อกันว่าการขายพระเครื่องนั้นเป็นเรื่องที่บาป เป็นการไม่เหมาะสมที่จะกระทำ เพราะพระเครื่องเป็นตัวแทนของพระศาสดาของพระพุทธศาสนา หรือ เป็นรูปพระสงฆ์สาวกอันเป็นที่เหมาะกับการเคารพสักการบูชาด้วยเงินทองเหมือนกับสินค้าทั่ว ๆ ไป แต่ก่อนนั้นพระเครื่องไม่นิยมซื้อขายกันเลย จะมอบให้กันด้วยความเสน่หา โดยรู้จักชอบพอ และนับถือกัน ทุกวันนี้ความนิยมพระเครื่องได้ขยายขีดความต้องการออกไปจากเดิมมากจากที่เช่าบูชากันแต่ในวงการพระเครื่อง แต่ตอนนี้ขยายออกไปสู่แวดวงการอื่นด้วย  ดังนั้น จึงมีการหันมาเปิดเป็นศูนย์พระเครื่องต่าง ๆ โดยทั้งศูนย์พระเครื่องที่เปิดขึ้นใหม่ และศูนย์พระเก่าที่เปิดมานานแล้ว และที่เปิดไปแล้วเกิดปิดกิจการไปแล้วก็มี  เพราะการเช่าพระปลอม แต่ไม่มีความผิดทางกฎหมาย หรือ ถึงจะมีสัญญารับประกันความแท้ หรือ มีปัญหาทีหลังที่ไม่สามารถเรียกร้องเงินคืนได้ จึงนิยมเช่าพระจากคนที่มีความน่าไว้วางใจ เนื่องจากศูนย์พระเครื่องต่าง ๆ มีทั้งของแท้และของปลอม ปะปนกันอยู่  ทั้งอาจเกิดจากเจตนาของเจ้าของศูนย์ หรือ ไม่ตั้งใจ ศูนย์ที่ขายพระปลอมกับศูนย์ที่ไม่รับผิดชอบต่อกรณีเกิดปัญหาทีหลัง แต่ศูนย์พระแท้ ที่มีความรับผิดชอบต่อพระที่มีปัญหากลับมีแต่ลูกค้า มีความเชื่อมั่นและกลับมาเช่าพระอีกอย่างต่อเนื่องมีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป (พระกรุสยาม,2540,หน้า 105-120) การปล่อยพระแท้ลูกค้าย่อมมีความพึงพอใจและมีความน่าเชื่อถือ ลูกค้าก็จะกลับมาเช่าอีกในครั้งต่อ ๆไป ดังนั้น จรรยาบรรณของการทำธุรกิจเช่าบูชาพระเครื่อง ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเช่าพระเครื่อง คือ มีพระของปลอมหรือทำเลียนแบบเข้ามาขายปะปนกับพระแท้ ทำให้ผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจในการเช่าบูชาพระเครื่อง และเนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนทำให้อัตราการเช่าพระเครื่องมีปริมาณแปรผันโดยตรงกับรายได้ของผู้เช่าบูชา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีการเช่าบูชาพระเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยประชากรส่วนใหญ่มาจากหลากหลายภูมิภาค และต่างวัฒนธรรม ประชากรในกรุงเทพมหานครจะเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่าง ผู้เช่าบูชาพระเครื่อง ผู้วิจัยหวังไว้อย่างยิ่งว่างานวิจัยครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ประกอบธุรกิจให้เช่าบูชาพระเครื่อง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจเช่าบูชาพระเครื่อง

บทที่ 1 :วัตถุประสงค์ของการวิจัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
           1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเช่าบูชาพระเครื่องของผู้บริโภคที่ศูนย์พระเครื่อง
2. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเช่าบูชาพระเครื่องของผู้บริโภคที่ศูนย์พระเครื่อง
3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติด้านส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเช่าพระเครื่องของผู้บริโภค

บทที่ 1:สมมติฐานของการวิจัย

สมมติฐานของการวิจัย
1.ปัจจัยส่วนบุคล (อายุ , ระดับการศึกษา , อาชีพ , รายได้) มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการเช่าบูชาพระเครื่อง และ ความถี่ในการเช่าบูชาพระเครื่องของผู้ที่มีความต้องการเช่าพระเครื่องในเขต กรุงเทพ และ ปริมลฑล ทีมีความนิยมในการเช่าพระเครื่องที่มีความแตกต่างกัน
         2. ทัศนคติ และแรงจูงใจทางการตลาดที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการเช่าบูชาพระเครื่อง.

บทที่ 1 :ขอบเขตการวิจัย

ขอบเขตการวิจัย
                เน้นการศึกษาความนิยม พฤติกรรม และ ทัศนคติในการเช่าพระเครื่องที่มีขอบเขตปทุมธานี และปริมณฑลเท่านั้น โดยสามารถสังเกตุได้จากอายุของผู้ที่มีความนิยมเช่าบูชาพระเครื่องที่มีอายุประมาณ 30 ปีขึ้นๆไปโดยสามารถเก็บตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างประชากรศาสตร์จากสถานเช่าบูชาพระเครื่อง เช่น ตลาดพระท่าพระจันทร์ , ตลาดพระพีเซ็นเตอร์ , ศูนย์พระเครื่องเดอะมอลล์สาขางามวงศ์วาน , ตลาดพระชุมชนรังสิต , ตลาดพระพันธุ์ทิพย์พลาซ่า และ ตลาดพระ เขตเทศบาลเมือง
ปทุมธานี

บทที่ 1:กรอบแนวคิดการวิจัย

บทที่ 1 :ประโยชน์ที่ขคาดว่าจะได้รับ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
         1. สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปกำหนดกลยุทธ์ และแผนการตลาดเพื่อให้ธุรกิจการเช่าบูชาพระเครื่องสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
2. กำหนดพันธกิจที่จะทำให้เกิดความประสบผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจการให้เช่าบูชาพระเครื่อง.
3. สามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับเป็นแผนที่จะเข้าไปแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด หรือครอบครองส่วนแบ่งผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุดโดยอาศัยข้อมูลทางการวิจัยเป็นแนวทางในการตัดสินใจในการประกอบธุรกิจเพื่อลดความผิดพลาดให้น้อยที่สุด

บทที่ 1:นิยามศัพท์เฉพาะ

นิยามศัพท์เฉพาะ
                1. พระพิมพ์ หมายถึง พระพุทธรูปขนาดเล็กที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการกดประทับด้วยแม่พิมพ์ หรือ ถ้าเป็นเนื้อโลหะจะใช้การเทละลายเทหล่อเข้าแม่พิมพ์
2. วัตถุมงคลในพุทธศาสนา หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระเครื่องราง หรือ พระเครื่อง คือรูปสมมติของพระพุทธเจ้ามีขนาดเล็ก สร้างไว้สำหรับบรรจุไว้ในพุทธเจดีย์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และเพื่อสืบทอดพระศาสนา
3. พระปลอม หมายถึง พระที่มีถอดพิมพ์จากพระเดิมและทำให้มีสภาพเหมือนจริง เป็นพระที่ไม่ได้รับการปลุกเสก แล้วออกมาจำหน่ายแก่ผู้ต้องการเช่าบูชาพระเครื่อง ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อผง พระเหรียญ พระเนื้อดิน
4. ศูนย์พระเครื่อง หมายถึง สถานที่ใดก็ตามที่มีแผงพระมาตั้งเพื่อให้เช่า (ซื้อ ขายพระเครื่อง) แลกเปลี่ยน บริการตรวจสอบพระแท้หรือปลอม จำหน่ายอุปกรณ์ปลีกย่อยอื่น ๆ เป็นกล่องใส่พระ ตลับพระ สายสร้อย ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ประจำ เปิดบริการวันจันทร์ วันอาทิตย์ หรือจัดให้มีขึ้นเฉพาะวันที่กำหนดเท่านั้น เช่น ศูนย์พระเครื่องตลาดนัดจตุจักรเปิดบริการเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์ อยู่โครงการ 1 มีจำนวน 130 ร้านค้า
5.พุทธคุณ หมายถึง คุณของพระพุทธเจ้าอย่างย่อที่สุดมี 3 ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณที่ได้นำมาบรรจุไว้ในพระเครื่องเพื่อให้มีอำนาจปกป้องและคุ้มครองผู้ที่บูชาพระเครื่องที่เกิดจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์นั้น
6.เหรียญคณาจารย์ หมายถึงโลหะที่มีลักษณะกลมแบนหรือรูปเหลี่ยมเป็นต้น มีภาพนูนหรือตัวอักษรอยู่บนพื้นโดยทำป็นรูปของพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้ที่ศัทธาจัดทำขึ้นมาเพื่อมอบให้แก่บุคลทั่วไป
7.พระกรื่ง คือ พระเครื่องที่ทำด้วยโลหะ ข้างในกลวง มีก้อนโลหะคลอน เขย่าดังกริ่งๆ
8.คุณภาพของพระเครื่อง หมายถึง พระเครื่องที่เซียนพระกล้ารับประกันความแท้ ถ้าไม่พอใจเช่าไปแล้ววันหลังเอาพระมาคืนแล้วก็เอาเงินกับคืนแก่ลูกค้าที่เช่าบูชาพระเครื่อง
9.พระเนื้อผง หมายถึง พระที่อาจอาจจะมีส่วนผสมของดอกไม้บ้าง หรือผงวิเศษของคน(พระ)ที่ผลิตขึ้นมาบ้าง เนื้อผงส่วนใหญ่จะมีเนื้อสีขาวหรือสีนวลเหมือนชอล์ค
10.เนื้อดิน หมายถึง พระที่มีดินเหนียว หรือดินนาเป็นส่วนผสม สีขององค์พระจะเป็นสีดินเผาเพราะเนื่องจากโดนนำไปเผา
11.พระกรุโบราณ หมายถึง เป็นพระเครื่องโบราณอายุประมาณ๑๐๐๐ กว่าปีขึ้นไป
12.พระปิดตา หมายถึง ลักษณะขององค์พระท่านเป็นการยกพระหัตถ์ ปิดพระพักตร์ มิใช่ยกพระหัตถ์ปิดพระเนตร(ตา) แต่ปิดรวม ตา หู จมูก ปาก และดวงหน้าซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของกาย ส่วนใจเป็นนามก็ปิดโดยสมมุติ นับเป็นอาการสำรวมอายตนะ ๖  ประการ


วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 2: แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

แนวคิด  ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การทำรายงาน  เรื่อง  การศึกษาพฤติกรรมของผู้เช่าพระเครื่องในจังหวัดปทุมธานี  ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังรายละเอียดต่อไปนี้

1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรม 
2 ทฤษฎีการเช่าซื้อพระเครื่องบูชา
3 แนวคิดทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเช่าซื้อพระเครื่อง
4 แนวคิดส่วนประสมของการตลาด
5 ความรู้เกี่ยวกับวงการพระเครื่องและการเช่าพระเครื่อง
6 แนวทางการตัดสินใจเช่าพระเครื่อง
7 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2 :แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรม

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรม


สิริวรรณ  เสรีรัตน์ (, 2539, หน้า 3 )กล่าวไว้ว่ากิจกรรมทุกกิจกรรมแต่ละบุคคลทำการตัดสินใจทจะใช้ทรัพยการ (เงิน เวลา บุคลากร และอื่นๆ ) ที่เกี่ยวกับการบริโภคและการบริการ
ธงชัย สันติสงศ์ ( 2540, หน้า 26 ) อ้างอิงจาก James, et. Al.n.d. ) กล่าวว่าฤติกรรมผู้บริโภคหมายถึง  การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง  ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดหาให้ได้มา  และการใช้สินค้าและบริการรวมถึงกระบวนการตัดสินใจ  ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีส่วนในการกำหนดการกระทำดังกล่าว
อดุล  จาตุรงคุกูล ( 2543 , หน้า 5-6 ) อ้างอิงจาก Engel , et. Al.n.d. )  กล่าวว่าพฤติกรรมผู้บริโภคหมายถึงปฎิกิริยาของบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้สินค้าและบริการ  ทางเศณษฐกิจ รวมทั้งกระบวนการต่างๆ  ของการตัดสินใจต่างๆดังนี้

ปฎิกริยาของบุคคลต่างๆ  ที่จะได้รับและเกี่ยวข้องโดยตรงใช้สินค้าและบริการ  ซึ่งในที่นี้หมายถึงผ็บริโภคคนสุดท้ายกระบวนการต่างๆของการตัดสินใจ  จะเป็นตัวกำหนดปฏิกริยาต่างๆ

จากความหมายดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า พฤติกรรมผู้บริโภคหมายถึงการแสดงออกถึงการกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งจะได้มาในสินค้าและบริการนั้น  เพื่อตอบสนองความต้องการ  โดยจะมีกระบวนการต่างๆหลายขั้นตอน โดยเริ่มตั้งแต่การค้นหา  การซื้อใช้  การใช้งาน  การประเมินผล  และค่าใช้จ่ายเพื่อจะให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการนั้น  โดยการทำรายงานวิจัยธุรกิจฉบับนี้  จะศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับผู้เช่าพระในเขตกรุงเทพและปริมณฑล  โดยการมุ่งเน้น  ถึงพฤติกรรม ในการตัดสินใจซื้อสินค้า  โดยจะคำนึงถึง  ปัจจัยทางด้านการสงเสริมการตลาด  ผลิตภัณฑ์ ราคา และสถานที่จัดจำหน่าย ซึ่งในที่นี้ จะเป็นแหล่งในที่เช่าพระเครื่องและตลาดนัดพระเครื่อง

บทที่ 2 :ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้เช่าพระ


ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้เช่าพระ

ในการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น  ซึ่งในกลุ่มของการเช่าพระจะมีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนใคร  ในที่นี้จะศึกษษเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้เช่าพระ  เพื่อจะได้รู้ถึง  ปัจจัยทางการตลาดต่างๆ  ที่จะกระตุ้น  และสามารถตอบสนองความต้องการเช่าพระได้อย่างถูกต้อง
โดยลักษณะของผู้เช่าพระ  จะได้รับอิทธิพลทางด้านปัจจัยด้านวัฒนธรรม ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านจิตวิทยา  โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.                   ปัจจัยด้านวัฒนธรรม ( Cultural Factor ) วัฒนธรรมเป็นเครื่องผูกพันบุคลในกลุ่มไว้ด้วยกัน  ซึ่งบุคคลในกลุ่มนั้นจะเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมของกลุ่ม  ภายใต้กระบวนการทางสังคมเดียวกัน  ซึ่งวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดความต้องการและพฤติกรรมของบุคคล  โดยวัฒนธรรม  จะแบ่งออกได้ เป็นวัฒนธรรมพื้นฐาน วัฒนธรรมกลุ่มย่อยและขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ละชนชั้นของสังคม  ที่มีผลต่อการดำเนินชีวืตของบุคคล
2.                   ปัจจัยด้านสังคม (Social Factor ) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและมีอิทธิพล  ต่อพฤติกรรมในการซื้อหรือเช่าในลักษณะของสังคมจะประกอบด้วย  กลุ่มอ้างอิง  ครอบครัว บทบาทและสถานะของผู้ซื้อหรือเช่า
2.1               กลุ่มอ้างอิงจะเป็นกลุ่มที่ บุคคลเข้าไปเกี่ยวข้อง  กลุ่มนี้จะมีอิทธิพล ทัศนคติ ความคิดเห็น  และค่านิยม โดยแบ่งออกได้สองระดับคือ
-          กลุ่มปฐมภูมิ  ไดแก่ ครอบครัว เพื่อนสนิท ญาติสนิท  เพื่อนบ้าน
-       กลุ่มทุติยภูมิ  ได้แก่  กลุ่มบุคลชั้นนำในสังคม  เพื่อนร่วมอาชีพ  และร่วมสถาบัน  บุคคลกลุ่มต่างๆในสังคม
                ดังนั้นกลุ่มอ้างอิงจะมีอิทธิพล  ต่อบุคคลในกลุ่มทางด้านทางเลือกพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตรวมทั้งทัศนคติและแนวคิดของบุคคล  เนื่องจากบุคคล  ต้องการเป็นที่ยอมรับจองกลุ่มจึงจำเป็นต้องปฎิบัติตามและยอมรับความคิดเห็นนั้นๆ  ดังนั้น  กลุ่มอ้างอิงจะมีผลต่อการตัดสินใจ  ต่อผู้บริโภค  และพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างมาก
2.2               ครอบครัว  บุคคลในครอบครัวถือว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อแต่ในลักษณะของการเช่าพระ  จะเป็นการตัดสินใจ  ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากกว่า  เพราะมันเป็นความชอบส่วนบุคคล
2.3               บทบาทและสถานะ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับรายกลุ่มเช่น ครอบครัว กลุ่มอ้างอิง  องค์กร และสถาบันต่างๆ  บุคคลจะมีบทบาทและสถานะแตกต่างกัน  ดังนั้น  พฤติกรรมการบริโภคต้องมีความแตกต่างกัน
3.                   ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal Factor) ในการศึกษาพฤติกรรมการตัดสินซื้อหรือเช่าจะได้รับอิทธิพลต่างๆจากลักษณะส่วนบุคคล  ได้แก่  เพศ  อายุ อาชีพ  การศึกษา  รายได้  และรูปแบบการดำเนินชีวิต และบุคลิกภาพ  และความคิดเห็นแต่ละบุคคล
4.                   ลักษณะทางจิตวิทยา ( Psychological Characteristics) ในการเลือกซื้อ  หรือเช่า  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลจะมีกระบวนการทางจิตวิทยา 5 อย่างคือ  การจูงใจการรับรู้  การเรียนรู้  ความเชื่อและทัศนคติ

บทที่ 2 :ทฤษฎีการตัดสินใจเช่าซื้อพระเครื่องบูชา

ฤษฎีการตัดสินใจเช่าซื้อพระเครื่องบูชา


                S-R Theory หรือโมเดลพฤติกรรมผู้บริโภค ( Consumer behavior model ) (Kotler , อ้างถึง ใน  ศิริวรรณ  เสรีรัตน์ และคนอื่นๆ , 2546 , หน้า 196-199)
                S-R Theory เป็นการศึกษาถึงเหตุจูงใจ  ที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซ้อผลิตภัณฑ์โดยมีจุดเริ่มต้นจากการที่เกิดสิ่งกระตุ้น ( Stimulas ) mทำให้เกิดความต้องการ  สิ่งกระตุ้นเหล่านี้ผ่านเข้ามาในความรู้สึกนึกคิดของผู้เช่าซื้อ ( Buyer’s black box ) ซึ่งเปรียบเสมือนกล่องดำ  ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่สามารถคาดคะเนความรู้สึกนึกคิดของผู้เช่าซื้อจะได้รับอิทธิพลจากลักษณะต่างๆ  ของผู้เช่า  ซึ่งจะนำไปสู่การตอบสนองของผู้เช่า  หรือการตัดสินใจเช่า
ภาพประกอบที่ 1 โมเดลการตัดสินใจซ้อผู้บริโภค
ที่มา ศรีสุภา สหชัยเสรี , 2546 : 47
                สิ่งกระตุ้น ( Stimulas ) สิ่งกระตุ้นอาจเกิดจากขึ้นเองภายในร่างกายและสิ่งกระตุ้นจากภายนอก  นักการตลาดจะต้องสนใจแบะจัดสิ่งกระตุ้นภายนอก  เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการผลิตภัณฑ์  สิ่งกระตุ้นถื่อว่าเป็นเหตุจูงใจทำให้เกิดการซื้อสินค้า  ซึ่งอาจใช้เหตุผลหรือด้านจิตวิทยาก็ได้  สิ่งกระตุ้นภายนอกประกอบด้วย 2 ส่วน  คือ
                สิ่งกระตุ้นทางการตลาด  เป็นสิ่งกระตุ้นที่นักการตลาดสามารถควบคุมและต้องจัดให้มี  เป็นสิ่งกระตุ้นที่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบของการตลาด  ประกอบด้วย
1.      สิ่งกระตุ้นด้านผลิตภัณฑ์  เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สวยงามเพื้อกระตุ้นการต้องการซื้อ
2.      สิ่งกระตุ้นด้านราคา  เช่น การกำหนดราคาสินค้าให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์โดยพิจารณาลูกค้าเป้าหมาย
3.      สิ่งกระตุ้นช่องทางด้านตลาด  เช่น จัดจำหน่าย  ผลิตภัณฑ์ให้ทั่วถึง
4.      สิ่งกระตุ้นด้านการส่งเสริมการตลาด  เช่น การโฆษณา  สม่ำเสมอ
5.      สิ่งกระตุ้นอื่นๆ  เป็นสิ่งกระตุ้นความต้องการผ็บริโภคที่อยู่ภายนอกองค์กร  ซึ่งบริษัทควบคุมไม่ได้
- สิ่งกระตุ้นทางเศรษฐกิจ (Economic) เช่น ภาวะเศรษฐกิจ  รายได้ของผู้บริโภค เหล่านี้มีอิทธิพลต่อต้องการของบุคคล
- สิ่งกระตุ้นทางเทคโนโลยี ( Technological ) เช่น เทคโนโลยีใหม่ด้านการถอนฝากเงินอัตโนมัติ สามารถกระตุ้นการฝากเงินได้มากขึ้น
- สิ่งกระตุ้นทางกฎหมายและการเมือง ( Law and Political ) เช่นกฎหมายเพิ่ม หรือลดภาษีสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง  จะมีอิทธิพลต่อการเพิ่มหรือลดความต้องการในการซื้อ
- สิ่งกระตุ้นทางวัฒนธรรม (Cultural) เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย  ในเทศกาลต่างๆจะมีผลกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการในการซื้อสินค้านั้นๆ
กล่องดำหรือความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ ( Buyer’s Black box ) ความรู้สึกนึกคิดของผ็ซ้อเปรียบเสมือนกล่องดำ ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ทราบได้  จึงต้องพยายามค้นหาความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ  ความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อได้รับอิทธิพลจากลักษณะผู้ซื้อ  และกระบวนการตัดสินใจของผู้ซื้อ
- ลักษณะผู้ซื้อ (Buyer’ s characteristics) ลักษณะผู้ซื้อมีอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆคือ ปัจจัยทางด้านสังคม ,วัฒนธรรม,ด้านส่วนบุคคลและจิตวิทยา
- กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้ซื้อ (Buyer’s decision process ) เป็นลำดับขั้นตอนในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค  ซึ่งจะประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ คือ 1. ความรับรู้ความต้องการ(ปัญหา)  2. การค้นหาข้อมูล 3. การประเมินผลทางเลือก 4. การตัดสินใจซื้อ และ 5. พฤติกรรมภายหลังการซื้อ
ซึ่งจะสังเกตได้ว่า  สิ่งกระตุ้นกล่องดำของผู้บริโภค  จะประกอบไปด้วย  สิ่งกระตุ้นทางการตลาด ซึ่งได้แก่  กลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์  ราคา ช่องทางการตลาด  และการส่งเสริมทางการตลาด  ซึ่งนักการตลาดจะต้องสามารถกระตุ้นความต้องการและความสนใจของผู้บริโภคได้  มีการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ให้รับรู้  และดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคให้มีต่อสินค้าหรือบริการนั้นๆได้
กระบวนการตัดสินใจซื้อ (ศรีสุภา สหชัยเสรี, 2546 หน้า 58-63) การศึกษาถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในตลาด  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องมากที่สุด  กล่าวคือ  ผู้บริหารทางการตลาดจะต้องศึกษาให้ทราบว่าใครคือผู้ซื้อสินค้าและบริการขององค์กรแท้จริง  และมีใครที่มีอิทธิพลต่อการซื้อในแต่ละครั้ง  เช่น  การซื้อของเล่นตามคำเรียกร้องหรือกระตุ้นจากผู้เป็นลูก  หรือการซื้อบ้านจากความเห็นชอบของคนในครอบครัว  เป็นต้น  ดังนั้น  ผู้บริหารการตลาดจึงต้องศึกษาถึงบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้าและบริการต่างๆโดยทั่วไปแล้ว จะประกอบไปด้วย
1. ผู้ริเริ่ม( initiator) เป็นผู้แนะนำหรือเสนอความคิดเห็นในการเลือกซื้อสินค้า  หรือบริการต่างๆ
2. ผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ (influencer) เป็นผู้สนับสนุนหรือกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายขั้นสุดท้าย
3. ผู้ทำการตัดสินใจ (Decider) เป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ  หากจะซื้ออะไร  ซื้ออย่างไร ซื้อที่ไหน
4. ผู้ซื้อ (Buyer) เป็นผู้ทำหน้าที่ซื้อ  ตามการตัดสินใจของผู้ซื้อ
5. ผู้ใช้ (User) เป็นผู้ใช้สินค้า หรือบริการนั้นๆ
ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ข้างต้น อาจจะหมายถึงบุคคลเดียว  หรือหลายคนก็ได้เช่น ลูก ผู้เป็นคนริเริ่มและมีอิทธิพลต่อการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์  มีพ่อเป็นผู้นำการตัดสินใจและแม่กับลูกคือผู้ซื้อ  แต่ทั้งพ่อ แม่ และลูก  อาจจะเป็นผู้ใช้ด้วยกันทั้งหมด
พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคนั้น  จะมีความผันผวนหรือเปลี่ยนแปลงไปตามวัฎจักรชีวิตของสินค้าและบริการ  และกลยุทธ์ทางการตลาดที่ผู้บริหารการตลาดได้จัดทำขึ้นในแต่ละช่วงเวลา  โดยเฉพาะในปัจจัยด้านราคา  ซึ่งได้มีการแบ่งประเภทของพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคออกเป็นรูปแบบต่างๆ
โดยทั่วไปในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภคในตลาดจะประกอบไปด้วยกระบวนต่างๆ 5 ขั้นตอนดังนี้
1.เกิดความต้องการ
2.การหาข้อมูล
3.การประเมินข้อมูล

4.การตัดสินใจซื้อ
5.ความรู้สึกภายหลังซื้อ

ภาพประกอบที่ 2 โมเดลแสดง 5 ขั้นตอนในการตัดสินใจซื้อของ ที่มา :ศรีสุภา สหชัยเสรี,2546:60
เกิดความต้องการ ( Need recognition )
เป็นกระบวนการขั้นต้นที่จะเกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นด้วยปัจจัยต่างๆ  เช่นความต้องการสินค้าและบริการเพื่อดำรงชีวิต
การหาข้อมูล (Information search )
เมื่อผู้บริโภคเกิดความต้องการสินค้าหรือบริการ  จากการกระตุ้นในขั้นต้นของการวางแผนงานทางการตลาด  จะแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการนั้นๆ  เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการนั้นๆต่อไป  โดยการแสวงจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
การประเมินข้อมูล ( Evaluation of alternatives )
เมื่อผู้บริโภคได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อจากแหล่งข้อมูลต่างๆ  จะดำเนินงานประเมินคุณสมบัติ  รายละเอียด  ราคา  การบริการหลังการขายของสินค้าหรือบริการแต่ละตรายีห้อและเปรียบเทียบกับความต้องการของตน  จากนั้น จึงคัดเลือกและตัดสินใจซื้อในที่สุด
การตัดสินใจซื้อ (Purchase decision)
การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการใดๆ  ภายหลังจากการประเมินข้อมูล  ยังอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจได้ด้วยปัจจัยต่างๆ  เช่น ทัศนคติของบุคลรอบข้าง
ความรู้สึกภายหลังการซื้อ (Port purchase behavior )
การบริหารงานด้านการตลาด  นอกจากกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการสินค้าหรือบริการ  กระทั่งตัดสินใจซื้อในที่สุด  โดยเฉพาะในด้านความรู้สึกของผู้บริโภคภายหลังการซื้อ  ที่ผู้บริหารทางการตลาดควรสร้างระบบให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคด้วยระบบของการขายต่างๆ  ที่มีประสิทธิภาพ
จากลักษณะของการตลาด  และอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ  ที่มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค