วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 1 :ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                พระเครื่องเป็นสื่อสัญลักษณ์ของชาวไทยพุทธที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นทั้งตัวแทนในการระลึกถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมคำสั่งสอนของท่านซึ่งพระเครื่องเป็นวัตถุมงคลขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้ สร้างจากวัตถุมงคลหลายประเภท เช่น เนื้อดิน เนื้อว่าน เนื้อผงวิเศษ โลหะผสมต่างๆตลอดจนวัตถุอาถรรพ์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาประกอบเป็นพระเครื่องโดยทำเป็นรูปพระพุทธเจ้า และพระเกจิอาจารย์ด้วยเทคนิคการผลิตหลายรูปแบบ เป็นต้น
                มูลเหตุที่พระเครื่องสืบทอดมาถึงปัจจุบันนี้ เกิดมาจากมูลเหตุที่สำคัญ 2 ประการ ประการแรก คือ ความศรัทธา ประการที่สอง คือ การสะสมโดยความศรัทธาก่อให้เกิดแรงจูงใจให้สร้างรูปประติมากรรมต่าง ๆ จนกลายมาเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุ ซึ่งปัจจุบันความศรัทธาเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1) ความเคารพนับถือยกย่องเชิดชู จึงต้องการสร้างวัตถุที่ทรงคุณค่ามาทำการสักการบูชาจนแสดงออกมาเป็นประติมากรรมต่าง ๆ  2) ความศรัทธาความเชื่อในกุศลผลบุญที่จะได้รับจากการสร้าง ได้ดำรงไว้และสืบทอดพระศาสนาในรูปการสร้างพระพุทธปฏิมาเก็บไว้ตามกรุต่าง ๆ ด้านการสะสม เจตนารมณ์ที่สำคัญของนักสะสมพระเครื่องแบ่งเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1.       สะสมไว้เป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึง พระธรรม
2.       สะสมไว้เพื่อเตือนให้ระลึกถึง พระเดช พระคุณ ของพระพุทธเจ้าทางฝ่ายมหายาน
3.       สะสมไว้เพื่อการศึกษาทางโบราณคดีและสกุลศิลปะ
4.       สะสมไว้เชิงพุทธศิลป์
5.       สะสมไว้เพื่อการธุรกิจ
6.       สะสมไว้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง (แฟชั่น)
นอกจากนี้พระเครื่องสร้างขึ้นในฐานะรูปเคารพบูชาหรือภาพเล่าเรื่อง เพื่อแสดงพุทธประวัติ ซึ่งการสร้างพระเครื่องหรือพระพิมพ์นั้นจะสร้างได้คราวละมาก ๆ และคติความเชื่ออย่างใหม่ คือ บูชาพระเครื่องหรือพระพิมพ์ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเป็นเครื่องรางของขลัง ทำให้มีการสะสมกันขึ้นเป็นจำนวนมาก (พระเครื่อง : การสื่อสาร กับการบริโภคเชิงสัญญะ,2550,หน้า 2-3)
พระเครื่องที่มีการเช่าบูชากันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีอยู่หลายระดับเช่นกันเป็นต้นว่า ปั๊ม หล่อ ฉีด หรือการกดพิมพ์โดยเทคนิคแบบหลังเป็นวิธีการสร้างพระเครื่องแบบโบราณ จึงเป็นชื่อที่นำมาเรียกพระเครื่องสมัยก่อนว่าพระพิมพ์ ในแง่มุมของทางวิชาการที่คิดตามประวัติศาสตร์มักนิยมเรียกกันว่า พระพิมพ์แต่แวดวงพระเครื่องที่นิยมซื้อขายหรือสะสมนิยมเรียกว่า พระเครื่อง หรือ วัตถุมงคล แต่ก่อนเราเชื่อกันว่าการขายพระเครื่องนั้นเป็นเรื่องที่บาป เป็นการไม่เหมาะสมที่จะกระทำ เพราะพระเครื่องเป็นตัวแทนของพระศาสดาของพระพุทธศาสนา หรือ เป็นรูปพระสงฆ์สาวกอันเป็นที่เหมาะกับการเคารพสักการบูชาด้วยเงินทองเหมือนกับสินค้าทั่ว ๆ ไป แต่ก่อนนั้นพระเครื่องไม่นิยมซื้อขายกันเลย จะมอบให้กันด้วยความเสน่หา โดยรู้จักชอบพอ และนับถือกัน ทุกวันนี้ความนิยมพระเครื่องได้ขยายขีดความต้องการออกไปจากเดิมมากจากที่เช่าบูชากันแต่ในวงการพระเครื่อง แต่ตอนนี้ขยายออกไปสู่แวดวงการอื่นด้วย  ดังนั้น จึงมีการหันมาเปิดเป็นศูนย์พระเครื่องต่าง ๆ โดยทั้งศูนย์พระเครื่องที่เปิดขึ้นใหม่ และศูนย์พระเก่าที่เปิดมานานแล้ว และที่เปิดไปแล้วเกิดปิดกิจการไปแล้วก็มี  เพราะการเช่าพระปลอม แต่ไม่มีความผิดทางกฎหมาย หรือ ถึงจะมีสัญญารับประกันความแท้ หรือ มีปัญหาทีหลังที่ไม่สามารถเรียกร้องเงินคืนได้ จึงนิยมเช่าพระจากคนที่มีความน่าไว้วางใจ เนื่องจากศูนย์พระเครื่องต่าง ๆ มีทั้งของแท้และของปลอม ปะปนกันอยู่  ทั้งอาจเกิดจากเจตนาของเจ้าของศูนย์ หรือ ไม่ตั้งใจ ศูนย์ที่ขายพระปลอมกับศูนย์ที่ไม่รับผิดชอบต่อกรณีเกิดปัญหาทีหลัง แต่ศูนย์พระแท้ ที่มีความรับผิดชอบต่อพระที่มีปัญหากลับมีแต่ลูกค้า มีความเชื่อมั่นและกลับมาเช่าพระอีกอย่างต่อเนื่องมีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป (พระกรุสยาม,2540,หน้า 105-120) การปล่อยพระแท้ลูกค้าย่อมมีความพึงพอใจและมีความน่าเชื่อถือ ลูกค้าก็จะกลับมาเช่าอีกในครั้งต่อ ๆไป ดังนั้น จรรยาบรรณของการทำธุรกิจเช่าบูชาพระเครื่อง ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเช่าพระเครื่อง คือ มีพระของปลอมหรือทำเลียนแบบเข้ามาขายปะปนกับพระแท้ ทำให้ผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจในการเช่าบูชาพระเครื่อง และเนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนทำให้อัตราการเช่าพระเครื่องมีปริมาณแปรผันโดยตรงกับรายได้ของผู้เช่าบูชา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีการเช่าบูชาพระเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยประชากรส่วนใหญ่มาจากหลากหลายภูมิภาค และต่างวัฒนธรรม ประชากรในกรุงเทพมหานครจะเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่าง ผู้เช่าบูชาพระเครื่อง ผู้วิจัยหวังไว้อย่างยิ่งว่างานวิจัยครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ประกอบธุรกิจให้เช่าบูชาพระเครื่อง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจเช่าบูชาพระเครื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น