วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 1 :ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                พระเครื่องเป็นสื่อสัญลักษณ์ของชาวไทยพุทธที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นทั้งตัวแทนในการระลึกถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมคำสั่งสอนของท่านซึ่งพระเครื่องเป็นวัตถุมงคลขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้ สร้างจากวัตถุมงคลหลายประเภท เช่น เนื้อดิน เนื้อว่าน เนื้อผงวิเศษ โลหะผสมต่างๆตลอดจนวัตถุอาถรรพ์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาประกอบเป็นพระเครื่องโดยทำเป็นรูปพระพุทธเจ้า และพระเกจิอาจารย์ด้วยเทคนิคการผลิตหลายรูปแบบ เป็นต้น
                มูลเหตุที่พระเครื่องสืบทอดมาถึงปัจจุบันนี้ เกิดมาจากมูลเหตุที่สำคัญ 2 ประการ ประการแรก คือ ความศรัทธา ประการที่สอง คือ การสะสมโดยความศรัทธาก่อให้เกิดแรงจูงใจให้สร้างรูปประติมากรรมต่าง ๆ จนกลายมาเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุ ซึ่งปัจจุบันความศรัทธาเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1) ความเคารพนับถือยกย่องเชิดชู จึงต้องการสร้างวัตถุที่ทรงคุณค่ามาทำการสักการบูชาจนแสดงออกมาเป็นประติมากรรมต่าง ๆ  2) ความศรัทธาความเชื่อในกุศลผลบุญที่จะได้รับจากการสร้าง ได้ดำรงไว้และสืบทอดพระศาสนาในรูปการสร้างพระพุทธปฏิมาเก็บไว้ตามกรุต่าง ๆ ด้านการสะสม เจตนารมณ์ที่สำคัญของนักสะสมพระเครื่องแบ่งเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1.       สะสมไว้เป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึง พระธรรม
2.       สะสมไว้เพื่อเตือนให้ระลึกถึง พระเดช พระคุณ ของพระพุทธเจ้าทางฝ่ายมหายาน
3.       สะสมไว้เพื่อการศึกษาทางโบราณคดีและสกุลศิลปะ
4.       สะสมไว้เชิงพุทธศิลป์
5.       สะสมไว้เพื่อการธุรกิจ
6.       สะสมไว้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง (แฟชั่น)
นอกจากนี้พระเครื่องสร้างขึ้นในฐานะรูปเคารพบูชาหรือภาพเล่าเรื่อง เพื่อแสดงพุทธประวัติ ซึ่งการสร้างพระเครื่องหรือพระพิมพ์นั้นจะสร้างได้คราวละมาก ๆ และคติความเชื่ออย่างใหม่ คือ บูชาพระเครื่องหรือพระพิมพ์ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเป็นเครื่องรางของขลัง ทำให้มีการสะสมกันขึ้นเป็นจำนวนมาก (พระเครื่อง : การสื่อสาร กับการบริโภคเชิงสัญญะ,2550,หน้า 2-3)
พระเครื่องที่มีการเช่าบูชากันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีอยู่หลายระดับเช่นกันเป็นต้นว่า ปั๊ม หล่อ ฉีด หรือการกดพิมพ์โดยเทคนิคแบบหลังเป็นวิธีการสร้างพระเครื่องแบบโบราณ จึงเป็นชื่อที่นำมาเรียกพระเครื่องสมัยก่อนว่าพระพิมพ์ ในแง่มุมของทางวิชาการที่คิดตามประวัติศาสตร์มักนิยมเรียกกันว่า พระพิมพ์แต่แวดวงพระเครื่องที่นิยมซื้อขายหรือสะสมนิยมเรียกว่า พระเครื่อง หรือ วัตถุมงคล แต่ก่อนเราเชื่อกันว่าการขายพระเครื่องนั้นเป็นเรื่องที่บาป เป็นการไม่เหมาะสมที่จะกระทำ เพราะพระเครื่องเป็นตัวแทนของพระศาสดาของพระพุทธศาสนา หรือ เป็นรูปพระสงฆ์สาวกอันเป็นที่เหมาะกับการเคารพสักการบูชาด้วยเงินทองเหมือนกับสินค้าทั่ว ๆ ไป แต่ก่อนนั้นพระเครื่องไม่นิยมซื้อขายกันเลย จะมอบให้กันด้วยความเสน่หา โดยรู้จักชอบพอ และนับถือกัน ทุกวันนี้ความนิยมพระเครื่องได้ขยายขีดความต้องการออกไปจากเดิมมากจากที่เช่าบูชากันแต่ในวงการพระเครื่อง แต่ตอนนี้ขยายออกไปสู่แวดวงการอื่นด้วย  ดังนั้น จึงมีการหันมาเปิดเป็นศูนย์พระเครื่องต่าง ๆ โดยทั้งศูนย์พระเครื่องที่เปิดขึ้นใหม่ และศูนย์พระเก่าที่เปิดมานานแล้ว และที่เปิดไปแล้วเกิดปิดกิจการไปแล้วก็มี  เพราะการเช่าพระปลอม แต่ไม่มีความผิดทางกฎหมาย หรือ ถึงจะมีสัญญารับประกันความแท้ หรือ มีปัญหาทีหลังที่ไม่สามารถเรียกร้องเงินคืนได้ จึงนิยมเช่าพระจากคนที่มีความน่าไว้วางใจ เนื่องจากศูนย์พระเครื่องต่าง ๆ มีทั้งของแท้และของปลอม ปะปนกันอยู่  ทั้งอาจเกิดจากเจตนาของเจ้าของศูนย์ หรือ ไม่ตั้งใจ ศูนย์ที่ขายพระปลอมกับศูนย์ที่ไม่รับผิดชอบต่อกรณีเกิดปัญหาทีหลัง แต่ศูนย์พระแท้ ที่มีความรับผิดชอบต่อพระที่มีปัญหากลับมีแต่ลูกค้า มีความเชื่อมั่นและกลับมาเช่าพระอีกอย่างต่อเนื่องมีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป (พระกรุสยาม,2540,หน้า 105-120) การปล่อยพระแท้ลูกค้าย่อมมีความพึงพอใจและมีความน่าเชื่อถือ ลูกค้าก็จะกลับมาเช่าอีกในครั้งต่อ ๆไป ดังนั้น จรรยาบรรณของการทำธุรกิจเช่าบูชาพระเครื่อง ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเช่าพระเครื่อง คือ มีพระของปลอมหรือทำเลียนแบบเข้ามาขายปะปนกับพระแท้ ทำให้ผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจในการเช่าบูชาพระเครื่อง และเนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนทำให้อัตราการเช่าพระเครื่องมีปริมาณแปรผันโดยตรงกับรายได้ของผู้เช่าบูชา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีการเช่าบูชาพระเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยประชากรส่วนใหญ่มาจากหลากหลายภูมิภาค และต่างวัฒนธรรม ประชากรในกรุงเทพมหานครจะเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่าง ผู้เช่าบูชาพระเครื่อง ผู้วิจัยหวังไว้อย่างยิ่งว่างานวิจัยครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ประกอบธุรกิจให้เช่าบูชาพระเครื่อง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจเช่าบูชาพระเครื่อง

บทที่ 1 :วัตถุประสงค์ของการวิจัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
           1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเช่าบูชาพระเครื่องของผู้บริโภคที่ศูนย์พระเครื่อง
2. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเช่าบูชาพระเครื่องของผู้บริโภคที่ศูนย์พระเครื่อง
3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติด้านส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเช่าพระเครื่องของผู้บริโภค

บทที่ 1:สมมติฐานของการวิจัย

สมมติฐานของการวิจัย
1.ปัจจัยส่วนบุคล (อายุ , ระดับการศึกษา , อาชีพ , รายได้) มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการเช่าบูชาพระเครื่อง และ ความถี่ในการเช่าบูชาพระเครื่องของผู้ที่มีความต้องการเช่าพระเครื่องในเขต กรุงเทพ และ ปริมลฑล ทีมีความนิยมในการเช่าพระเครื่องที่มีความแตกต่างกัน
         2. ทัศนคติ และแรงจูงใจทางการตลาดที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการเช่าบูชาพระเครื่อง.

บทที่ 1 :ขอบเขตการวิจัย

ขอบเขตการวิจัย
                เน้นการศึกษาความนิยม พฤติกรรม และ ทัศนคติในการเช่าพระเครื่องที่มีขอบเขตปทุมธานี และปริมณฑลเท่านั้น โดยสามารถสังเกตุได้จากอายุของผู้ที่มีความนิยมเช่าบูชาพระเครื่องที่มีอายุประมาณ 30 ปีขึ้นๆไปโดยสามารถเก็บตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างประชากรศาสตร์จากสถานเช่าบูชาพระเครื่อง เช่น ตลาดพระท่าพระจันทร์ , ตลาดพระพีเซ็นเตอร์ , ศูนย์พระเครื่องเดอะมอลล์สาขางามวงศ์วาน , ตลาดพระชุมชนรังสิต , ตลาดพระพันธุ์ทิพย์พลาซ่า และ ตลาดพระ เขตเทศบาลเมือง
ปทุมธานี

บทที่ 1:กรอบแนวคิดการวิจัย

บทที่ 1 :ประโยชน์ที่ขคาดว่าจะได้รับ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
         1. สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปกำหนดกลยุทธ์ และแผนการตลาดเพื่อให้ธุรกิจการเช่าบูชาพระเครื่องสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
2. กำหนดพันธกิจที่จะทำให้เกิดความประสบผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจการให้เช่าบูชาพระเครื่อง.
3. สามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับเป็นแผนที่จะเข้าไปแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด หรือครอบครองส่วนแบ่งผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุดโดยอาศัยข้อมูลทางการวิจัยเป็นแนวทางในการตัดสินใจในการประกอบธุรกิจเพื่อลดความผิดพลาดให้น้อยที่สุด

บทที่ 1:นิยามศัพท์เฉพาะ

นิยามศัพท์เฉพาะ
                1. พระพิมพ์ หมายถึง พระพุทธรูปขนาดเล็กที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการกดประทับด้วยแม่พิมพ์ หรือ ถ้าเป็นเนื้อโลหะจะใช้การเทละลายเทหล่อเข้าแม่พิมพ์
2. วัตถุมงคลในพุทธศาสนา หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระเครื่องราง หรือ พระเครื่อง คือรูปสมมติของพระพุทธเจ้ามีขนาดเล็ก สร้างไว้สำหรับบรรจุไว้ในพุทธเจดีย์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และเพื่อสืบทอดพระศาสนา
3. พระปลอม หมายถึง พระที่มีถอดพิมพ์จากพระเดิมและทำให้มีสภาพเหมือนจริง เป็นพระที่ไม่ได้รับการปลุกเสก แล้วออกมาจำหน่ายแก่ผู้ต้องการเช่าบูชาพระเครื่อง ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อผง พระเหรียญ พระเนื้อดิน
4. ศูนย์พระเครื่อง หมายถึง สถานที่ใดก็ตามที่มีแผงพระมาตั้งเพื่อให้เช่า (ซื้อ ขายพระเครื่อง) แลกเปลี่ยน บริการตรวจสอบพระแท้หรือปลอม จำหน่ายอุปกรณ์ปลีกย่อยอื่น ๆ เป็นกล่องใส่พระ ตลับพระ สายสร้อย ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ประจำ เปิดบริการวันจันทร์ วันอาทิตย์ หรือจัดให้มีขึ้นเฉพาะวันที่กำหนดเท่านั้น เช่น ศูนย์พระเครื่องตลาดนัดจตุจักรเปิดบริการเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์ อยู่โครงการ 1 มีจำนวน 130 ร้านค้า
5.พุทธคุณ หมายถึง คุณของพระพุทธเจ้าอย่างย่อที่สุดมี 3 ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณที่ได้นำมาบรรจุไว้ในพระเครื่องเพื่อให้มีอำนาจปกป้องและคุ้มครองผู้ที่บูชาพระเครื่องที่เกิดจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์นั้น
6.เหรียญคณาจารย์ หมายถึงโลหะที่มีลักษณะกลมแบนหรือรูปเหลี่ยมเป็นต้น มีภาพนูนหรือตัวอักษรอยู่บนพื้นโดยทำป็นรูปของพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้ที่ศัทธาจัดทำขึ้นมาเพื่อมอบให้แก่บุคลทั่วไป
7.พระกรื่ง คือ พระเครื่องที่ทำด้วยโลหะ ข้างในกลวง มีก้อนโลหะคลอน เขย่าดังกริ่งๆ
8.คุณภาพของพระเครื่อง หมายถึง พระเครื่องที่เซียนพระกล้ารับประกันความแท้ ถ้าไม่พอใจเช่าไปแล้ววันหลังเอาพระมาคืนแล้วก็เอาเงินกับคืนแก่ลูกค้าที่เช่าบูชาพระเครื่อง
9.พระเนื้อผง หมายถึง พระที่อาจอาจจะมีส่วนผสมของดอกไม้บ้าง หรือผงวิเศษของคน(พระ)ที่ผลิตขึ้นมาบ้าง เนื้อผงส่วนใหญ่จะมีเนื้อสีขาวหรือสีนวลเหมือนชอล์ค
10.เนื้อดิน หมายถึง พระที่มีดินเหนียว หรือดินนาเป็นส่วนผสม สีขององค์พระจะเป็นสีดินเผาเพราะเนื่องจากโดนนำไปเผา
11.พระกรุโบราณ หมายถึง เป็นพระเครื่องโบราณอายุประมาณ๑๐๐๐ กว่าปีขึ้นไป
12.พระปิดตา หมายถึง ลักษณะขององค์พระท่านเป็นการยกพระหัตถ์ ปิดพระพักตร์ มิใช่ยกพระหัตถ์ปิดพระเนตร(ตา) แต่ปิดรวม ตา หู จมูก ปาก และดวงหน้าซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของกาย ส่วนใจเป็นนามก็ปิดโดยสมมุติ นับเป็นอาการสำรวมอายตนะ ๖  ประการ