วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมเช่าบูชาพระเครื่องในจังหวัดปทุมธานี

บทที่ 5


สรุปผลการวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมเช่าบูชาพระเครื่องในจังหวัดปทุมธานี


การศึกษาเรื่องพฤติกรรมของผู้เช่าบูชาพระเครื่องในจังหวัดปทุมธานี โดยศึกษาทางด้านพฤติกรรมและระดับความสำคัญในการเช่าบูชา โดยจะศึกษาจากข้อมูลทั่วไป และปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์(ตัวพระเครื่อง) ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย โดยวิธีเก็บตัวอย่างสถิติแบบเคซี มอร์แกน จำนวน 40 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ด้วยสถิติหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


สรุปงานวิจัย

1.พบว่าเพศชาย มีจำนวนที่สนใจพระเครื่องมากกว่าเพศหญิง
อายุ ระหว่าง 40-49 ปี มีความสนใจมากถึง 15 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5
ด้านสถานภาพ พบว่า คนสมรสแล้วมีมากถึง 24 คน คิดเป็นร้อยละ 60
ด้านระดับการศึกษา พบว่า ระดับมัธยมศึกษา มีจำนวนถึง 19 คน คิดเป็นร้อยละ 47.5
ด้านอาชีพพบว่า คนค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว มีถึง 19 คน คิดเป็นร้อยละ 47.5
ด้านรายได้ที่ระหว่าง 10,000-20,000 บาท มีถึง 13 คน คิดเป็นร้อยละ 32.5
2.พบว่ากลุ่มผู้เช่าบูชาพระเครื่อง ให้ความสนใจตามปัจจัยที่ตั้งสมมุติฐานไว้ทุกด้าน เช่น ตัวพระเครื่อง ราคา การจัดจำหน่ายเช่าบูชา และการส่งเสริมการขายตามแผงพระ หรือ สื่อต่างๆ


ข้อเสนอแนะ
1.ให้มีการจัดระเบียบแผงเช่าพระ เพื่อป้องกันการหลอกลวง และลงทะเบียนผู้ค้า หรือ ผู้ให้เช่าแผงเพื่อป้องกันมิจฉาชีพ
2.พระเครื่องเป็นมรดกทางวัฒนธรรม จึงควรส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น