วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 2 :แนวคิดส่วนประสมของตลาด


แนวคิดส่วนประสมของตลาด

                สุดาดวง  เรืองรุจิระ ( 2543 : 29-34 ) ได้กล่าวถึง  ส่วนประสมการตลาด ( Marketing Mix ) ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์, การจัดจำหน่าย, การกำหนดราคา,การส่งเสริมทางการตลาด หรือเราสามารถเรียกส่วนประกอบทางการตลาดได้อีกอย่างหนึ่งว่า 4Ps ส่วนประสมทั้ง 4 ตัวนี้  ทุกตัวมีความเกี่ยวพันโดย P แต่ละตัวมีความสำคัญเท่าเทียมกัน  แต่ขึ้นอยู่กับผ็บริหารการตลาดแต่ละคนที่จะวางกลยุทธ์ ว่าจะเน้นส่วนใด

1. ผลิตภัณฑ์ (Product ) ปัจจัยแรกที่จะแสดงว่ากิจการพร้อมที่จะทำธุรกิจได้  กิจการนั้นจะต้องมีสิ่งที่จะเสนอขาย  อาจเป็นสินค้าที่มีตัวตน  บริการ ความคิด ที่จะสนองความต้องการของผู้บริโภคได้

2. การจัดจำหน่าย ( Place ) ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตผลิตขึ้นมาได้นั้น  ถึงแม้ว่าจะมีคุณภาพดีเพียงใด  ถ้าผู้บริโภคไม่ทราบแหล่งซื้อและไม่สามารถจัดหามาได้เมื่อเกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาก็ไม่สามารถจะตอบสนองความต้องการได้ของผู้บริโภคได้    นักการตลาดต้องพิจารณาว่าที่ไหน  เมื่อไหร่ และโดยใครที่จะเสนอขายสินค้า   การจัดจำหน่ายนั้นแบ่งกิจกรรม 2 ส่วนคือ ช่องทางการจำหน่ายสินค้าและการแจกจ่ายตัวสินค้าการกระจายสินค้าเข้าสู้ผู้บริโภค

3. การกำหนดราคา (Price ) คือการกำหนดราคที่เหมาะสมให้กับผลิตภัณฑ์ที่จะนำไปขายก่อนที่จะกำหนดราคาสินค้า

4. การส่งเสริมทางการตลาด (Promotion ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการติดต่อสื่อสารไปยังตลาดกลุ่มเป้าหมาย  การส่งเสริมการตลาดเป็นวิธีที่จะบอกลูกค้าทราบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เสนอขาย

แนวคิดใหม่เกี่ยวกับส่วนประสมการตลาดที่มีวิสัยทัศน์ไกลกว่าเดิม  ได้แก่ ส่วนประสมการตลาดยุคใหม่ ( Marketing Mix หรือ 4Cs ) ซึ่งมีส่วนประสมต่างๆดังนี้

1. การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค (Consumer Need and Wants) การกำหนดส่วนประกอบการตลาดตัวแรกเกี่ยวกับการเสนอขาย  จึงต้องสร้างขอบเขตให้กว้างๆได้เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการตลาดที่เน้นการตอบสนอง

2. ต้นทุนในการจัดหาสิ่งที่จะตอบสนองความต้องการ ( Cost to Buy ) ราคาเป็นมูลค่าที่กำหนดขึ้นโดยผู้ขาย  และตกลงขายเพราะผู้ซื้อยอมรับ  ในทัศนะของผู้ซ้อผลิตภัณฑ์ ราคา คือเงินที่ต้องจ่ายสำหรับบวกกำไรของผู้ขาย

3. ความต้องการความสะดวกซื้อ ( Convenience to Buy ) เป็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องจากการคำนึงถึงค่าใช้จ่ายรวมในการซื้อ

4. การใช้เครื่องมือสื่อสารในการส่งเสริมการตลาด ( Communication ) เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านโฆษณา เพิ่มสูงขึ้นและมีผลิตภัณฑ์ผ่านสื่อโฆษณาแต่ละชนิดอย่างหนาแน่นในอนาคตผู้บริโภคจะตกอยู่ใต้อิทธิพลของเครื่องมือสื่อสารต่างๆมากขึ้น และเป็นเครื่องมือสื่อสารที่เข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง  กิจการธุรกิจมองเห็นว่าควรทำการส่งเสริมการตลาดผ่านศื่อทางการสื่อสารที่เข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่าและค่าใช้จ่ายถูกกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น