วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 2 :สภาพปัญหาของธุรกิจพระเครื่องและเช่าบูชา

สภาพปัญหาของธุรกิจพระเครื่องและเช่าบูชา


การเจริญเติบโตในการเช่าพระและวัตถุมงคลนี้  เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในอดีตและไม่เคยปรากฎในประเทศอื่นนอกจาประเทศไทย  รัฐบาลยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการใดๆที่ควบคุมธุรกิจประเภทนี้  ซึ่งการขาดการควบคุมเช่นนี้  จึงเป็นเหตุให้  กลไกทางธุรกิจและผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับพระเครื่องสามารถจะประกอบธุรกิจอย่างไรก็ได้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตนเองโดยจะมีปํญหาสำคัญ 4 ส่วนดังนี้


1.                  ไม่มีมาตรการควบคุมในการสร้างพระและวัตถุมงคล  ทำให้มีการปลอมแปลงพระและวัตถุมงคลได้ง่าย  เพราะไม่มีกฎหมายควบคุม  ดังนั้นในการสร้างพระวัตถุมงคลในพระพุทธศาสนาที่หายากและมีคุณค่าทางพุทธพาณิชสูง  จึงนิยมปลอมแปลงกันมาก  เนื่องการผลิตไม่ผิดกฎหมายและผู้กระทำได้รับตอบแทนสูง  การปลอมแปลงทั้งหมดนั้นย่อมมีจุดหมายคือหลอกลวงผู้เช่า  ดังนั้นก่อให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจได้โดยรวมซึ่งผู้เช่าไม่สามารถ  กลับเปลี่ยนเป็นราคาทรัพย์สินได้อีก  การทำปลอมแบ่งแยกตามลักษณะได้ดังนี้
-          การทำปลอมโดยทำให้เหมือน  หรือเข้าใจว่าเป็นของแท้  วิธีการทำปลอมปะเภทนี้ เป็ฯวิธ๊การทำปลอมทั่วๆไป  โดยการนำมาของแท้มาเป็นต้นแบบแล้วทำปลอมด้วยเนื้อหาและแบบพิมพ์แบบเดียวกัน
-          การปลอมพระเครื่อง  โดยร่างขึ้นมาให้มีลักษณะพิเศษซึ่งทำให้ผู้ได้พบเห็น  ซึ่งไม่มีความรู้เข้าใจว่าเป็นพระเครื่องที่หายากและมีราคารสูง
-          การทำปลอมและการหลอกลวงการจำหน่ายพระเครื่อง  อาจจะนำพระแท้ประเภทเหรียญโลหะมาชุบผิว  หรือเคลือบผิวให้เป็น นวโลหะ หรือทองคำ หรือให้พิจารณาจากภายนอกว่าเป็นพระเครื่องที่สร้างจากเนื้อโดยไม่ตรงกับความเป็นจริงและมีราคาสูงกว่าควรจะเป็น
-          การทำปลอมโดยใช้วัตถุมงคลของแท้มาปลอมอีกวิธีหนึ่ง  คือการใช้พิมพ์เก่าแกะพิมพ์ใหม่เพื่อคุณค่าเชิงพาณิชที่สูงกว่า  โดยประเภทมวลสารเช่น ผงหรือดิน จะมีมูลค่าเชิงพาณิชต่ำ  หรือนำแม่พิมพ์เก่าหล่อพระใหม่เป็นต้น  ซึ่งนับว่าการกระทำแบบนี้จะทำลายคุณค่าทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก


2.                  ไม่มีมาตรการควบคุมการสร้างวัตถุมงคล  โดยวัดต่างๆทำให้เกิดความไม่เหมาะสมหลายประการซึ่งนับเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนา เช่น
-          การที่ผู้จัดสร้างทำเกินกว่าที่ทางวัดกำหนดไว้  ซึ่งในวงการเรียกว่า “ทำพระเสริม” โดยเกิดจากกลุ่มผู้สร้างเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน  ทำเกินกว่าที่ได้ขออณุญาติจากทางวัดไว้ โดยพระเสริมหรือส่วนเกิน  จะไม่ได้เข้าพิธีพุทธาภิเศก  หรืออธิษฐานจิตใดๆ โดยจะนำจำหน่ายเองภายหลัง
-          การที่วัดจัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม เช่น   สร้างพระในปางที่แปลกกว่ากำหนดหรือ  สร้างรูปพระนั่งบนรูปสัตว์ต่างๆ  เช่น เต่า ลิง เสือ หรือ รูปกุมารทอง  รูปชายหญิงติดกันเป็นต้น
-          การแอบอ้างถึงพิธีการจัดสร้าง  หรือวัตถุที่ใช้เป็นมวลสารเพื่อผู้เช่าเกิดความสนใจแต่ไม่ได้ส่มวลสารจริงลงไปตามที่บอกกล่าวไว้เป็นต้น


3.                  ไม่มีมาตรการควบคุมบทความหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะสังเกตได้ว่า  บทความในสิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล  จะพูดถึงปราฎิหาริย์  ทำให้เกิดความบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเป็นหลัก  โดยไม่คำนึงถึง พุทธคุณ ศิลปะ  วัฒนธรรม จึงทำให้การโฆษณาเกินความจริงและบิดเบือน  ทำให้ผู้เช่าเข้าใจผิดได้และไม่มีมาตรการลงโทษอย่าแท้จริง  เป็นเหตุให้ผู้เช่า เกิดความเสื่อมศรัทธาในพุทธศาสนาได้
4.                  ไม่มีมาตรการควบคุมในการค้าและควบคุมผู้ค้า  เนื่องจ่กในปัจจุบันนี้  สถานที่จำหน่ายวัตถุมงคลและพระเครื่องเกิดขึ้นมากมาย  แต่ละแห่งจะประกอบไปด้วย ผู้ค้ารายย่อยเป็ฯจำนวนมากนอกจากนนี้ยังผ็ค้าที่ไม่ได้ประกอบกิจการในแหล่งจำหน่ายโดยตรง  อีกทั้งผู้ค้ากลุ่มนี้จะมีอยูทุกๆที่  นับวันจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  โดยไม่สามารถจะประมาณจำนวนผู้ค้าได้ เพราะรัฐบาลไม่เคยทำการควบคุม  สำรวจ หรือขึ้นทะเบียนผู้ค้าไว้แต่อย่างใด  ซึ่งปัญหานี้ ก่อให้เกิดัปญหาหลายประการเช่น
-          ผู้ค้าขาดความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค  เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งวางได้ไม่เปลี่ยนหลักแหล่ง  จึงขาดความรับผิดชอบในพระเครื่องและวัตถุมงคล
-          ไม่สามารถตรวจสอบควบคุมการจำหน่ายวัตถุมงคลที่รับไว้จากผู้กระทำความผิดได้  เนื่องจากปัจจุบันแนวโน้มการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์โดยมุ่งหวัง  เอาทรัพย์สินเช่นพระเครื่องและวัตถุมงคลมากขึ้น  ทำให้ผู้กระทำความผิดสามารถจำหน่าย ผู้ค้าได้โดยง่ายและไม่มีการตรวจสอบในการซื้อหาวัตถุมงคลหรือพระเครื่องนั้น
-          วัตถุมงคลและพระเครื่องที่มีคุณค่าเชิงพุทธพาณิชสูง  จะเป็นแหล่งฟอกเงินต่อผู้กระทำความผิดได้โดยง่าย เนื่องจากไม่สามารถแสดงรายละเอียด  แสดงรายได้  ดังนั้น จะเป็นการฟอกเงินได้อย่างดี  เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้
-          การจัดวางจำหน่ายพระเครื่องหรือวัตถุมงคลในบางสถานที่  ไม่เหมาะสม เช่น  บริเวณข้างวัดมหาธาตุ หรือด้านนอกสวนจตุจักร ผู้ค้าส่วนใหญ่จะจัดวางจำหน่าย  บนกระดาษหนังสือพิมพ์หรือบางเศษผ้าเก่าๆ บนถนน สะพานลอย หรือ บาทวิถี ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะพระเคื่องเป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาที่เรานับถือกัน
-          นอกจาการค้าแล้วปัจจุบัน  ยังมีการควบคุมจัดตลาดนัด  หรือการจัดประกวดพระเครื่อง   เพราะเนื่องจากว่ามีกลุ่มผลประโยชน์แอบแฝงอยู่  ซึ่งในการจัดประกวดพระแต่ละครั้ง  จะมีเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ผ็จัดบางรายอ้างว่า จะนำรายได้บางส่วนไปบริจาคต่อสาธารณกุศล แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว การกระทำดังกล่าวไม่มีมาตรฐานอะไรมาควบคุม  ทำให้การจัดงานต่างๆ  กำหนดขึ้นโดยามจัดผู้จัด  โดยจะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น