วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 2:แนวคิดทางการตลาดที่สำคัญต่อการตัดสินใจเช่าซื้อพระเครื่อง

แนวคิดทางการตลาดที่สำคัญต่อการตัดสินใจเช่าซื้อพระเครื่อง 

ปริญ  ลักษิตานนท์ และคณะ (2543 ; 66-84) ได้กำหนดปัจจัยทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อกระบวนการตัดสินใจ  สามารถแยกพิจารณาได้ 2 ประเภท  คือ  ปัจจัยภายใน ( Internal Variables) และปัจจัยภายนอก ( External Variables) ดังภาพประกอบที่ 3



ภาพประกอบที่ 3 พฤติกรรมและการตัดสินใจของผู้บริโภค
ที่มา ปริญ ลักษิตานนท์ และคณะ , 2543 : 66-84

ปัจจัยภายในที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจ
ปัจจัยภายใน ( International Factor ) คือ ปัจจัยที่เกิดขึ้นจากด้านจิตวิทยา  หรือเรียกว่าปัจจัยด้านจิตวิทยาซึ่งเป็นความต้องการของมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคปัจจัยการเช่าพระเครื่องภายในได้แก่  การจูงใจ  การรับรู้  บุคลิกภาพ  ทัศนคติ ดังภาพประกอบที่ 4
ภาพประกอบที่ 4 ปัจจัยภายในที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจ
ที่มา : ปริญ ลักษิตานนท์ และคณะ , 2543 : 66-84

1. การจูงใจ( Motivation) หมายถึงการกระตุ้นให้กระทำหรือดำเนินการให้ได้มาซึ่งเป้าหมายที่ตั้งไว้ซึ่งการจูงใจจะเกิดขึ้นภายในตัวบุคคล  เป็นปัจจัยภายในตัวแรกที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค  เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นเป็นพฤติกรรมที่ต้องได้รับการกระตุ้นตั้งแต่เกิด  การจูงใจดังกล่าวจะถูกกระทบโดยปัจจัยภายนอกต่างๆ  เช่น วัฒนธรรม  ชั้นทางสังคมเป็นต้นการตัดสินใจของผู้บริโภคมักจะได้รับอิทธิพลจากแรงจูงใจชนิดใดชนิดหนึ่ง  ทฤษี Maslow กล่าวถึงลักษณะความพึงพอใจของมนุษย์ว่า  มนุษย์มีเจตนารมณ์และแรงมุ่งมั่นที่จะเป็นอิสระมีความสามรถและมีแรงจูงใจ  พร้อมที่จะผลักตัวเองออกไปในทางที่ดีขึ้น  ซึ่งเป็นไปตามทฤษีแรงจูงใจในทางบวกโดยที่ Maslow จำแนกได้เป็น 5 ขั้นตอนคือ
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย
ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการด้านสังคม
ขั้นที่4 ความต้องการด้านเกียรติยศชื่อเสียง
ขั้นที่5 ความต้องการประจักษ์ตนเอง
2. การรับรู้ ( Perception ) เป็นกระบวนการที่บุคลคัดเลือก  จัดระเบียบ และตีความหมาย  ข้อมูลเพื่อกำหนดเป็นภาพที่มีความหมายขึ้นมาหรือเป้ฯกระบวนการรับรู้  การจัดระเบียบ และการตีความหมาย  ข้อมูลหรือสิ่งกระตุ้นโดยอาศับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์
3. การเรียนรู้ (Learning ) หมายถึง  เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคลซึ่งเกิดขึ้นจากประสบการณ์  หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและ(หรือ)  ความโน้มเอียงของพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากการสังเกต  และประสบการณ์ที่ผ่านมาของบุคคลได้รับแรงกระตุ้นโดยการรับรู้ถึงตัวกระตุ้น  นั่นคือ  บุคคลได้เข้าไปสู่การเรียนรู้แล้ว  ในทางทฤษฎีการเรียนรู้จะกล่าวถึงองค์ประกอบที่เป็นเหตุเป็นผลกัน  คือ การถูกกระตุ้นและการตอบสนอง  ซึ่งทฤษฎีนี้เรียกว่า ทฤษฎีการกระตุ้น-การตอบสนอง ( Stimulus Response Theory =  S-R Theory ) การเรียนรู้เกิดขึ้นจากอิทธิพลหลายอย่าง เช่น ทัศนคติ ความเชื่อ ประสบการณ์
4. บุคลิกภาพ (Personality) เป็นลักษณะด้านจิตวิทยาที่เด่นชัด  ซึ่งนำไปสู่การตอบสนองของบุคคลต่อสภาพแวดล้อมในลักษณะที่เหมือนเดิมและสอดคล้องกัน  หรือหมายถึงรูปแบบลักษณะของบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองด้านพฤติกรรมส่วนทฤษฎีการจูงใจของฟรอยด์ ( Freud’s Theory ) มีข้อสมมติว่าอิทธิพลด้านจิตวิทยาสามารถกำหนดพฤติกรรมมนุษย์แรงจูงใจและบุคลิกภาพส่วนใหญ่เป็นจิตใต้สำนึก
5. ทัศนคติ ( Attitudes )หมายถึงความโน้มเอียงที่เกิดจากการเรียนรู้ในการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นไปในทิศทางที่สม่ำเสมอทั้งด้านบวกและด้านลบ  หรืออาจหมายถึงความรู้สึกนึกคิดของบุคคลทั้งด้านบวกและด้านลบที่มีต่อสิ่งของ  บุคคล ความคิด
อุษณีย์  จิตตะปาโลและนุตประวีณ์  เลิศกาญจนวัติ (2540 :22 ) ได้กล่าวว่าการใช้เครื่องมือ 4Ps เพื่อสร้างให้เกิดความโน้มเอียงในการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์และเครื่องมือการตลาดในลักษณะความพอใจ  ต้องศึกษาว่าทัศนคติเกิดขึ้นได้อย่างไร  ได้รับอิทธิพลจากอะไรและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร  การเกิดทัศนคติเกิดจากข้อมูลที่แต่ละบุคคลได้มา ( เกิดจากประสบการณ์ที่เรียนรู้เกี่ยวกับสินค้า) เกิดจากความรู้สึกนึกคิดของบุคลและเกิดจากความสัมพันธ์ที่มีต่อกลุ่มอ้างอิง
โครงสร้างของการเกิดทัศนคติ  ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. ส่วนของความเข้าใจ ( Cognitive Component ) เป็นส่วนของความรู้,  การรับรู้และความเชื่อ
2. ส่วนของความรู้สึก ( Affective Component ) “เป็นส่วนที่แสดงอารมณ์หรือความรู้สึกในลักษณะที่พอใจหรือไม่พอใจ
3. ส่วนของพฤติกรรม ( Behavior Component ) หมายถึง “แนวโน้มในการจะมีพฤติกรรมลักษณะหนึ่งลักษณะใด”
ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการตัดสินใจ
1. วัฒนธรรม ( Culture ) และวัฒนธรรมย่อย ( Subculture ) หมายถึง  กลุ่มของสัญลักษณ์และสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยสังคม  และถูกถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนรุ่นหนึ่ง เพื่อเป็นกฎเกณฑ์และข้อกำหนดถึงพฤติกรรมของมนุษย์หรือเป็นกลุ่มค่านิยมพื้นฐาน,การรับรู้,ความต้องการและพฤติกรรม  ซึ่งเรียนรู้จากการเป็นสามชิกของสังคมในครอบครัวและสถาบันที่สำคัญอื่นๆ วัฒนธรรมประกอบด้วย แนวคิดที่ไม่มีตัวตนเป็นสัญลักษณ์เช่น  ทัศนคติ  ความเชื่อ ค่านิยม ภาษา  ความเป็นอยู่  กฎหมาย  การศึกษา เป็นต้น
2. สิ่งที่มีตัวตน (Tangible Items ) เช่น กลุ่มเชื้อชาติ  กลุ่มศาสนา  กลุ่มสีผิว  พื้นที่ทางภิมศาสตร์
ชั้นทางสังคม ( Social class )  หมายถึง  การจัดลำดับชั้นสามชิกภายในสังคมออกเป็นกลุ่ม  โดยถือกฎเกณฑ์การศึกษา  รายได้  ทรัพย์สินหรืออาชีพ  ชั้นสังคมก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญต่อปัจจัยการซื้อของผู้บริโภค  แต่ละชั้นสังคมจะมีลักษณะค่านิยมและพฤติกรรมผู้บริโภคเฉพาะอย่างสัญลักษณ์ในการโฆษณา  กลยุทธ์ด้านสื่อ  รวามทั้งโปรแกรมการส่งเสริมการตลาดสะท้อนถึงค่านิยมและรูแปบบการดำรงชีวิต
               
ภาพประกอบที่ 5 กระบวนการซื้อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจเช่าพระเครื่อง
ที่มา : อุษณีย์ จิตตะปาโลและนุตประวีณ์  เลิศกาญจนวัติ , 2540: 53-54
                สุดาดวง  เรืองรุจิระ (2543 : 87-90 ) ได้กล่าวถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
                กระบวนการซื้อสินค้าของผู้บริโภคแบ่งออกเป็น 5 ลำดับขั้น  โดยเริ่มจากเหตุการณ์ก่อนที่มีการซื้อสินค้าจริงๆ   จนถึงเหตุการณ์ภายหลังการซื้อ  ซึ่งสรุปขั้นตอนดังภาพประกอบที่ 6





ภาพประกอบที่ 6 กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
ที่มา : สุดา  เรืองรุจิระ , 2543 : 87-90

1. พฤติกรรมก่อนการซื้อ (Repurchase Behaviors ) พฤติกรรมก่อนการซื้อเป็นกระบวนการเริ่มต้น  โดยมีแรงจูงใจหรือถูกกระตุ้นให้เกิดความต้องการ
2. แสวงหาทางเลือก ( Search for Alternatives ) เมื่อผู้บริโภคเกิดความต้องการในสินค้าแล้วก็จะต้องมองหาทางเลือก  การหาข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง  การหาข้อมูลนั้นจะต้องพิจารณาข้อมูลทางด้านชนิดของสินค้า  รูปลักษณ์ของสินค้า
3. การประเมินทางเลือก ( Evaluation of Alternatives ) เมื่อมีทางเลือกแล้วขั้นต่อไปจะต้องมีการประเมินผลทางเลือกในการตัดสินใจ
4. การตัดสินใจ (Purchase Decision ) หลังจากแสวงหาทางเลือกและประเมินผลทางเลือกแล้วผ็บริโภคจะต้องทำการตัดสินใจว่า  ถ้าซื้อสินค้านั้นจะตอบสนองความต้องการและความพอใจให้กับตนเองได้หรือไม่
5. การประเมินผลหลังการซื้อ (Post Purchase Behaviors ) กระบวนการตัดสินใจในการซื้อจะต้องรวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังการซื้อเพราะหลังจากการตัดสินใจไปแล้ว  ผู้บริโภคจะมีการประเมินผลหลังการซื้อว่าสินค้าที่ซื้อไป  ตอบสนองความต้องการได้หรือไม่  จะมีผลต่อการซื้อสินค้าครั้งต่อไป  และเป็นข้อมูลแนะนำผู้อื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น